วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คนรักสุขภาพ


บัวบก
ผักใบเล็กแก้ช้ำใน
คนจีนเชื่อกันว่าน้ำใบบัวบกเป็นยาแก้ช้ำใน ช่วยลดการกระหายน้ำ บำรุงกำลัง ในตำราไทยกล่าวว่า บัวบกมีรสเฝื่อนขมเย็น แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ ขับโลหิตเสีย
นอกจากนี้ยังได้มีการวิจัยและพัฒนาเป็นครีมบัวบก ซึ่งสามารถทำให้แผลหายเร็งขึ้น ลดการอักเสบ และทำให้แผลเป็นมีขนาดเล็ดลงได้


กระเทียม
ผักสมุนไพรคู่ครัวไทย
สาระสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อน คือ เอนไซม์อัลลิเนส (Anllinaes) ที่เปลี่ยนสารอินทรีย์กำมะถันอัลลินิน (Allin) ให้เป็นน้ำมันหอมระเหยอัลลิซิน(Allicin) และเมื่อนำหัวกระเทียมสดมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันกระเทียม
หากจะกินกระเทียมให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น ควรจะทุบหรือสับให้ละเอียดและทิ้งไว้ 10 นาทีก่อนที่จะใช้ปรุงอาหาร เพื่อให้น้ำมันในกระเทียมมีฤทธิ์ในการักษามากยิ่งขึ้น



ตะไคร้
สมุนไพรหอมสารพัดประโยชน์
ตะไคร้เป็นสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ลดไข้ แก้เคล็ดขัดยอก ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว แก้หวัด และใช้ในการอบสมุนไพร เป็นต้น
นอกจากใช้เป็นยาโดยตรงแล้ว ตะไคร้ยังทำเป็นชาหรือทำน้ำสมุนไพรดื่มได้ประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกด้วย



ตำลึง
วัชพืชริมรั้วอุดมวิตามิน
ตำลึงเป็นผักพื้นบ้านไทยที่หารับประทานได้ง่าย แถมกินได้ตั้งแต่ต้น ใบ ไปจนถึงผล ไม่ว่าจะเป็นยอดอ่อน ๆ ต้มหรือลวกกินกับน้ำพริกก็ได้ แกงเลียงก็ดี หรือจะใช้ใบผัดน้ำมันหอย
สำหรับผลอ่อนนั้นยังนำไปดองได้เช่นเดียวกับผลแตงกว่าอีกด้วย



มะนาว
เปรี้ยวอย่างมีคุณค่า
มะนาวนิยมทำเป็นน้ำผลไม้ ให้รสชาติและกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีวิตามินซีและแร่ธาตุหลายชนิด
นอกจากนี้ มะนาวยังมีสรรพคุณรักษาโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่น ใบบำรุงเลือด ผิวมะนาวเป็นยาขับลมแก้ท้องเสีย แก้อาการเจ็บคอ น้ำมะนาวป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้อาการวิงเวียน หน้ามืด อาเจียน รากแก้พิษไข้ แก้อาการปวดฝี และเมล็ดคั่วให้เหลือง ใช้เป็นยากวาดแก้โรคซางในเด็ก


หอมแดง
สมุนไพรจิ๋วแต่แจ๋ว
หอมเล็กมีประโยชน์มากกว่าลูกพี่อย่างหอมใหญ่เสียอีก เพราะมีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบ อีกทั้งยังมีสารโวฟลานอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านออกซิแดนต์ที่สำคัญชนิดหนึ่ง
หากกินเป็นประจำก็จะช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ลดไขมันในเส้นเลือด ที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

slide